ผศ.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

อาจารย์ ม.ธรรมศาสตร์ ชี้ แยกวิชาประวัติศาสตร์ ไม่จำเป็น

สืบเนื่องกรณี น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เตรียมออกประกาศ ศธ.ให้แยกวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ออกจากกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตาม ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมาย โดยที่ผ่านมา ศธ.มีนโยบาย 8+1 โดยการกำหนดโครงสร้างเวลาเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ แยกออกมา 1 รายวิชาอย่างชัดเจน เพื่อสร้างความรักชาตินั้น

ผศ.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การแยกวิชาประวัติศาสตร์ออกมานั้นแทบไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด ปัญหาสำคัญของการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ในระดับประถมและมัธยมศึกษาคือการขาดหลักสูตรที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และขาดตำราที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย หรือเป็นตำราที่สอนให้คนคิดเป็น นอกจากนี้ ยังขาดฐานข้อมูลกลางให้นักเรียนเข้าถึงความรู้ถูกต้อง

“โดยปกติวิชาประวัติศาสตร์รวมอยู่ในกลุ่มสาระสังคมศึกษาอยู่แล้ว มีหน่วยกิตประมาณ 0.5 หรือ 1 หน่วยกิตต่อสัปดาห์ที่ต้องเรียน เพราะฉะนั้น นักเรียนในระดับประถมและมัธยมศึกษาต้องเรียนอยู่แล้วตลอด 12 ปีในทุกสัปดาห์ จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องแยกออกมาเพื่อเพิ่มภาระทั้งครูและนักเรียน สำหรับปัญหาสำคัญที่สุดอยู่ที่ 1.เนื้อหาวิชาไม่ทันสมัย ไม่สอดค้ลองกับความก้าวหน้าทางวิชาการ ควรต้องปรับปรุง 2.ไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเชิงความคิดของคนในสังคมปัจจุบันที่เน้นเรื่องการคิดวิเคราะห์ และการศึกษาประวัติศาสตร์ในเชิงกระบวนการเรียนการสอน

อาจารย์ มธ.ชี้ แยกวิชาประวัติศาสตร์ ไม่จำเป็น

“ประวัติศาสตร์บ้านเรา ถ้าคิดจะปรับปรุงควรให้ความสำคัญกับเสียงของครูและนักเรียน ควรถามความเห็นด้วยว่าคิดอย่างไร ตอนนี้เป็นเหมือนการปรับปรุงในเชิงระบบราชการ คือคิดแบบท็อปดาวน์ คือบนลงล่าง กระแสจึงออกมาในเชิงต่อต้านมากกว่ายอมรับ และควรตั้งคำถามอย่างแท้จริงด้วยว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้คิดจะปรับปรุง เราคำนึงถึงผู้เรียน ความรู้ หรือสุดท้ายคำนึงถึงนโยบายของชาติ หรืออุดมการณ์ของชาติเป็นสำคัญ ถ้าคิดถึงอุดมการณ์เชิงชาตินิยม อยากให้ประเทศสามัคคีกัน เกิดสำนึกการรวมหมู่ การปรับปรุงโดยการแยกวิชาออกมา สุดท้ายตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนหรือผู้สอนหรือไม่ นี่คือสิ่งที่อาจต้องคิดให้มากขึ้น ไม่ใช่มีไอเดียบางอย่าง หรือรับนโยบายบางอย่างมาแล้วคิดจะทำ” ผศ.พิพัฒน์กล่าว

แห่ช่วยตรีนุชหาหนังสือ แนะแบบเรียนวิชาใหม่ ‘ประวัติศาสตร์’ รักชาติ รักความเป็นไทย
ผศ.พิพัฒน์กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันคำถามอยู่ตรงที่ว่าคนรุ่นหนึ่งคิดว่าอยากให้คนในสังคมเกิดความรัก สมัครสมานสามัคคี ซึ่งเวลาเราพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า “รักชาติ” มันคือเซนส์ของชาตินิยม ถ้ามองไปข้างหน้าต้องเริ่มต้นก่อนว่าหัวใจสำคัญของวิชาประวัติศาสตร์มันสอนให้คนเข้าใจว่าอดีตมีความเป็นมาอย่างไร และเราจะนำมาใช้ประโยชน์ในปัจจุบันอย่างไรเพื่อมองไปสู่อนาคต

“ทุกวันนี้โลกเปลี่ยนไปมากแล้ว เราควรสอนให้นักเรียนใช้ประวัติศาสตร์ในฐานะที่เป็นทุนทางวัฒนธรรม เป็นฐานความรู้ในการมองโลกที่กว้างมากขึ้น เพราะประวัติศาสตร์ช่วยทำให้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมไทย ในประเทศเพื่อนบ้าน หรือในโลก พูดง่ายๆ คือวิชาประวัติศาสตร์ควรจะไปไกลเกินกว่าคำว่า ‘รักชาติ’ แต่ควรสอนว่าเราควรอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างไร ที่สำคัญคือนักเรียน หรือคนรุ่นใหม่ทุกวันนี้เป็นพลเมืองโลก ไม่ใช่แค่พลเมืองของประเทศเท่านั้น ประวัติศาสตร์ที่พยายามจะบอกว่าต้องรักชาติ คำถามคือ มันสอดคล้องกับความเป็นไปของสังคมในปัจจุบันหรือไม่” ผศ.พิพัฒน์กล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ heronbeck.com

แทงบอล

Releated